เทคนิคการใช้อีเอ

เทคนิคการวิเคราะห์แบบ Multi-timeframe

มกราคม 2, 2022

การวิเคราะห์แบบ Multi-time frame: ถ้าเราเทรดด้วยผลการวิเคระห์ price chart เป็นหลัก หรือเราเชื่อว่าถ้าเราอ่านชาร์ตเปล่าเป็น ชาร์ตเปล่าเพียงพอที่จะให้ข้อมูลท่านในระบบเทรด โดยไม่ใช้อินดิเคเตอร์ตัวไหนเลย  การรู้-เข้าใจตลาด รู้เทรดเดอร์ประเภทต่างๆ และความสามารถในการอ่าน price chart เป็นสิ่งจำเป็น   เช่นเราคาขึ้น-ลงเพราะ จำนวนออเดอร์ระหว่าง sell และ buy orders เพิ่มไปในตลาดเพิ่ม liquidity แต่ละจุดๆ และ มี market orders หรือ market orders ที่มาจากการออกจากตลาด เช่น Stop loss เข้าไป  เพื่อลบจำนวน liquidity เข้าใจหลักมุมมองตลาดต่างๆ เช่น Support/Resistance, Supply/Demand, Fibo, Price Action การรตั้ง Take profit และ Stop loss   การวิเคราะห์จุดที่มอง ตั้งแต่ 2-3 timeframe จะทำให้ท่านเห็นโครงสร้างราคาที่เกิดขึ้น และกำลังให้ข้อมูลอะไรท่านและจะทำให้ท่านหาจุดเข้าระบบเทรดได้แคบลงและความเป็นไปได้การเทรดสูงขึ้น พวกนี้เราจะสามารถมองจากชาร์ตเปล่าอย่างไร

 

เช่นถ้าเป็น Day Traders เราอาจจะมอง ภาพรวมหรือจุดวิเคระห์หลักๆ จาก D1 และ H4 เป็นหลัก อาจดูชาร์ต W1 ประกอบด้วย เราก็จะหารายละเอียดจุดที่เรามอง หรือหาโครงสร้างออเดอร์ผ่าน price chart ที่ชาร์ต H1 หรือ M30เพื่อหาจุดที่ชัดเจนของ D1 แล้วค่อยไปหาจุดเข้า-ออกที่ ชารต M15/M5 เราก็จะได้ภาพที่ชัดขึ้น แนะนำให้ใช้ 2-3 ชาร์ตพอ เกินจากนั้นไปอาจทำให้สับสนได้   การวิเคราะห์แบบหลาย timeframes ทำให้ท่านไม่หลงทางและหาจังหวะการเข้าได้แม่นขึ้นเพราะ เห็นโครงสร้างราคาที่เกิดขึ้นแบบหลายมิติ โดยเห็นภาพรวมและเห็นจุดเคลื่อนไหวรายละเอียดใน timeframe ย่อย

การมองหาจุดเทรดจาก Supply/Deman, Support/Resistance หรือ key levels  ต้องอย่าลืมว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร liquidity เพิ่มและลดอย่างไร เพราะถ้ามี liquidity มาก จะทำให้พื้นที่นั้นโต้ตอบได้ดี ยิ่งใน timeframe น้อยลงไปก็จะเห็นได้ชัด  อีกจุดหนึ่งที่ต้องใส่ใจ เมื่อท่านเห็นความเป็นไปได้สูงในการเข้าเทรดจาก timeframe ใหญ่ การลงไปดูใน timeframe ย่อยประกอบจะช่วยให้เห็นโครงสร้างราคาชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าเห็น D1 demand ลองไปดู H1/M30 เพื่อดูพัฒนาการของราคาต่อจุดที่ท่านมองว่าราคากำลังบอกอะไร แล้วลงย่อยไปที่ชาร์ต M15/M5 เพื่อหาไทม์มิ่งในการเข้าและออกจากตลาด ท่านจะเห็นรายละเอียดว่า ขาใหญ่เริ่มเทรดจริงหรือยัง สถานะ liquidity ตอนนี้เป็นยังไง  ดังนั้นการวิเคระห์ด้วยการมองชาร์ตต่าง timeframes จะทำให้ท่านหาจุดเข้าและออกได้ง่าย และที่สำคัญจะทำให้ท่านเห็นชัดว่าช่วงไหนที่ราคาน่าจะวิ่งผ่านไปไม่ยาก เพราะเรื่องหลักการออเดอร์  เมื่อ limit orders พื้นที่ๆ โดนลบไปด้วย market orders ช่วงผ่านมาตอนราคา retracement/test  หรือ unfilled orders โดน filled กลายเป็นตำแหน่งที่เปิดในตลาด Positions พวกนี้สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออเดอร์ที่เปิดอยู่ติดลบ เพราะทางเลือกของ trapped traders จะมีแค่ว่าจะปิดเสียมากน้อยแค่ไหน   จากมุมมองเรื่องออเดอร์ที่มองพวก Trapped Traders ประกอบ จะพบว่าอย่าง Imbalance ระหว่างออเดอร์ใหม่ๆ หรือไม่กี่วัน  ที่สะท้อนการเข้าตลาดจริงของขาใหญ่ที่เห็นจากชาร์ต D1 ราคาค่อนข้างจะโต้ตอบดีเพราะหลักการออเดอร์ที่มาจากเทรดเดอร์พวกที่อยู่ในตลาด โดยเฉพาะพวกที่ติดลบ จากหลักการนี้ อาจทำให้เรามองเห็นได้ว่า พื้นที่ๆ มี เทรดเดอร์ติดลบสามารถมองเป็นพื้นที่ supply/demand ได้ เช่นการหาโอกาสเทรด พวกแนวรับกลายเป็นแนวต้าน  แนวต้านกลายเป็นแนวรับ Supply กลายเป็น Demand และ Demand กลายเป็น Supply  การเทรดพวกนี้ใช้การมองต่าง timeframes ประกอบจะทำให้ท่านเป็นจุดเข้าได้ชัด  อีกอย่างหนึ่งต้องเข้าใจเมื่อวิเคระห์จุดที่สนใจต่าง timeframes รูปแบบแท่งเทียนจะต่างกันออกไป ท่านต้องเข้าใจหลักกการนำเสนอของแท่งเทียน Candlestick candles โดยเฉพาะรูปแบบแท่งเทียน price action เช่น Pin Bar หรือ Engulfing Bars เมื่อมองในชาร์ต timeframe ที่เล็กกว่า ต้องหัดฝึกการวิเคราะห์ต่าง timeframes และอาจใช้ tools ที่ช่วยสร้างขบวนการวิเคราะห์ต่าง timeframes จะได้ชำนาญยิ่งขึ้น การหาจุดเข้า-ออก จาก timeframe น้อย หลังจากผ่านการวิเคราะห์หลาย timeframes จะทำให้เข้า-ออกตรงจุดมากกว่าเดิม  เช่น วิเคราะห์ D1/H4 เป็นหลัก H1/M30 หากจุดที่ต้องการโฟกัสเรื่องออดอร์กับโครงสร้างที่กำลังเกิด และ หาจุดเข้าที่ M15/M5 จะทำให้เข้า-ออกได้ดียิ่งขึ้น

อีกอย่างร่องร่อยการเปิดออเดอร์ที่มาจากตลาดจริง พร้อมมี trapped traders ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน จะเป็นพื้นที่ๆ ทำงานดีกว่าพื้นที่เกิดไกลๆ เมื่อมองหาจุดที่เป็นต้นตอ และจุดที่ราคากลับมา ดูอย่าง ชาร์ต D1 ประกอบต่อไปนี้ ถ้าระยะห่างมาก โดยเฉพาะ D1 ขึ้น ต้องรอ การโต้ตอบ D1 เปิดเผยข้อมูลใหม่ก่อนค่อยจะเห็นโอกาสเทรดชัดขึ้นการวิเคระห์ต่าง timeframes อาจประยุกต์ได้หลายอย่าง เช่น Day Traders อาจใช้ ชารต์ D1/H4 เป็นตัวหาจุดหลัก อาจมอง W1 ประกอบ ใช้ H1/M30 เพื่อดูโครงสร้างราคาและพัฒนาการราคาและหาจุดอ้างอิงที่ชัดเจน และ M15/M5 เป็นจุดเข้า-ออก, Scalper อาจจะใช้ H1 เป็นหลัก อาจมีตรวจเช็คกับชารต H4, หาจุดอ้างอิงชัดๆ จาก M30/M15 แล้วเปิดเข้าและออกที่ M5/M1 เป็นต้น ให้อ่านโครงสร้างราคาและ price action ประกอบ การอ่าน price action ทางแท่งเทียน อย่าไปอ่านแค่บาร์ต่อบาร์ ต้องอ่านเป็น อาการ (effort and result) ว่า บาร์พวกนี้ต่อเนื่องบอกอะไร เช่น ให้ความสำคัญการปิด (bar close) ของแท่งเทียนที่มีขนาดใหญ่ (body size) และ ดูหาง (wick) ยิ่งเป็นการปิดในพื้นที่แนวรับต้าน

ฟรี!!ระบบเทรด
สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการใช้ EA indicator และเข้ากลุ่ม Line VIP ฟรี
มีเงื่อนไขเพียงเล็กน้อย
.
เพียงสมัครเปิดพอร์ตกับโบรกเกอร์ตามลิงค์ด้านล่าง ก็สามารถรับ EA ได้ฟรีทุกตัว และ EA ตัวใหม่ๆอื่นๆได้อีกในอนาคต
XM – คุณภาพอันดับหนึ่งตลอดสิบปีในไทย
XM – https://bit.ly/XmFree30USD
.
Mtrading – สเปรดเริ่มต้นที่ 0 pip ค่าคอมต่ำ
https://bit.ly/MTRatsamee
.
exness – โบรคเกอร์ที่ฝากและถอนเร็วที่สุด
exness – https://bit.ly/ExnessCom
.
**”เมื่อสมัครเสร็จ ส่งเลข MT4 ไปที่ Line Id- @ft.th เพื่อ
.
ขอรับ EA ได้ฟรี!”**
https://lin.ee/toIzT8g
.
ช่องทางการพูดคุย
.
Line Id :: @ft.th
https://lin.ee/toIzT8g
.
facebook :: https://fb.com/ForexTipsThailand
.
กลุ่มพูดคุย :: เทรดฟอเร็กซ์ให้ได้กําไรอย่างยั่งยืน
https://www.fb.com/groups/1179829495508247
.
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจ
เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

 

 

You Might Also Like

No Comments

Leave a Reply