5 เทคนิควางจุด Stop Loss
5 เทคนิควางจุด Stop Loss
เมื่อราคาไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดการณ์ไว้ในตอนแรก ทำให้เราจำเป็นที่ต้องมีจุด Stop loss เพื่อหยุดการขาดทุนในกรณีเทรดผิดทาง ซึ่งจะคอยควบคุมความเสี่ยงของเรา ไม่ทำให้เราต้องเผชิญการสูญเสียที่รุนแรงได้
ผลการขาดทุน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดอยู่แล้ว ไม่มีกลยุทธ์ไหนที่กำไร 100% ดังนั้นการตัดขาดทุน (Stop loss) เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี โดยการเทรดมีถูก มีผิด อยู่เสมอ ขอแค่ภาพรวมเราเทรดแล้วทำกำไรได้ต่อเนื่อง แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว
ทุกครั้งก่อนที่เราจะทำการเทรด เราต้องมีแผนการเทรดที่ชัดเจนก่อนหน้า ซึ่งหลักๆ ก็คือ
1.จุดเข้า
2.จุดออก (จุดทำกำไร และ จุด Stop loss)
5 เทคนิควางจุด Stop Loss
1.Fixed Stop เป็นการกำหนดจุด Stop Loss X% จากราคาซื้อ เช่น กำหนดไว้ว่าหากราคาหุ้นลดลง 10% จาก 100 บาท เหลือ 90 บาท จะขายทันที ซึ่งเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเป็นค่าที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้
ข้อดี คือ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่จำเป็นต้องดูกราฟหรืออะไรเลย แต่ข้อเสีย คือ หุ้นแต่ละตัวมีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง และเปอร์เซ็นต์ความผันผวนที่ต่างกันออกไป เช่น หุ้น XYZ มีความผันผวนอยู่ที่ 15% การตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 10% อาจทำให้ต้องตัดขาดทุนโดยไม่จำเป็น
2.Trailing Stop เป็นการกำหนดจุด Stop Loss ไว้ที่ X% จากราคาสูงสุด
ซึ่งอาจทำให้จุด Stop Loss เลื่อนสูงขึ้นเรื่อยๆ และอาจสูงกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อหุ้นนั้นมา ซึ่งจะช่วยปกป้องกำไรได้บางส่วน เช่น ถ้าซื้อหุ้นมา 100 บาท แต่ราคาค่อยๆ ปรับขึ้นไปเป็น 150 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุด หากเรากำหนด Stop Loss ไว้ที่ 10% จาก 150 บาท ก็คือ 15 บาท จากนั้นเอา 150 บาท ลบด้วย 15 บาท จะเหลือ 135 บาท ดังนั้น ถ้าหากราคาหุ้นลงมาที่ 135 บาท จะขาย จะไม่ปล่อยให้ราคาหุ้นลงไปถึง 90 บาท แล้วค่อยขาย ซึ่งไม่มีกำไร
3.Indicator Stop เป็นการกำหนดจุด Stop Loss ที่อ้างอิงจาก Technical Indicator ส่งผลให้ Stop Loss แต่ละครั้งจะมี X% ของผลขาดทุนที่ต่างกัน เช่น เมื่อราคาต่ำกว่าเส้น Moving Average 10 วัน แล้วไม่เด้งกลับ จะขายทันที หรือจะใช้เส้น 50 วัน 200 วัน รวมถึงใช้ RSI เป็นตัวกำหนดก็ได้ แล้วแต่ความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน
4. Chart Stop เป็นการตั้ง Stop Loss ตามสิ่งที่กราฟบอก โดยจะทำการวิเคราะห์ Chart Pattern เพื่อดูจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดเดิม จากนั้นจึงนำมาหาแนวรับและกำหนดจุด Stop Loss เป็น X% จากแนวรับนั้น หากราคาหลุดแนวรับเมื่อไรก็ Stop Loss ได้ทันที วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ด้าน Technical ประมาณหนึ่ง
ข้อควรระวัง คือ จุด Stop Loss ของวิธีการนี้จะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและราคาของหุ้นแต่ละตัว ทำให้บางครั้งเกิดสัญญาณหลอกได้
5.Time Stop เป็นการกำหนดจุด Stop Loss จากระยะเวลาที่ต้องการถือหุ้น ถ้าเกินระยะเวลาดังกล่าวจะขายหุ้นตัวนั้นทันที เช่น ซื้อหุ้นตัวหนึ่ง เพราะคิดว่าผลประกอบการน่าจะดี และวันที่ประกาศผลประกอบการก็ออกมาดี แต่ราคาหุ้นไม่ขึ้น ก็ควรจะขาย เพราะสิ่งที่คิดได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ราคาหุ้นกลับไม่สะท้อนตาม หรือคนที่มีกลยุทธ์แบบ Technical ถ้าราคา Break ที่ High เดิม ปกติหุ้นควรจะวิ่ง แต่หุ้นตัวนี้ไม่วิ่ง หากในระยะเวลา 5 – 10 วัน ถ้าหุ้นยังไม่วิ่งก็ควรขายและนำเงินไปลงทุนหุ้นตัวอื่นต่อ
ฟรี!ระบบเทรด
สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการใช้ EA indicator ระบบเทรดอัตโนมัติ และเข้ากลุ่ม Line VIP ฟรี
มีเงื่อนไขเพียงเล็กน้อย
.
เพียงสมัครเปิดพอร์ตกับโบรกเกอร์ตามลิงค์ด้านล่าง ก็สามารถรับ EA ระบบเทรดอัตโนมัติ ได้ฟรีทุกตัว และ EA ตัวใหม่ๆอื่นๆได้อีกในอนาคต
XM – คุณภาพอันดับหนึ่งตลอดสิบปีในไทย
.
Mtrading – สเปรดเริ่มต้นที่ 0 pip ค่าคอมต่ำ
.
exness – โบรคเกอร์ที่ฝากและถอนเร็วที่สุด
exness – https://bit.ly/ExnessCom
.
**”เมื่อสมัครเสร็จ ส่งเลข MT4 ไปที่ Line Id- @ft.th เพื่อ
.
ขอรับ EA ได้ฟรี!”**
.
ช่องทางการพูดคุย
.
Line Id :: @ft.th
.
facebook :: https://fb.com/ForexTipsThailand
.
กลุ่มพูดคุย :: เทรดฟอเร็กซ์ให้ได้กําไรอย่างยั่งยืน
.
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจ
เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
No Comments